แนวทางบริหารจัดการที่ดีของสาธารณสุขในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

หัวข้อการค้นคว้าอิสระ
Title    
แนวทางบริหารจัดการที่ดีของสาธารณสุขในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
Effective Management of Public Health Administration in Phutthamonthon District Nakhon Pathom Province
ชื่อผู้วิจัย/ผู้ศึกษา
Author
อาภาพัชญ์ วงศ์เจริญสกุล
Arpapatch Wongcharoensakul
ปริญญา/คณะ/มหาวิทยาลัย
Degree/Faculty/University
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ มหาวิทยาลัยเกริก
Department of Organizational Administration Faculty of Liberal Arts, Krirk University
อาจารย์ที่ปรึกษา
Advisor
ดร.ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์
ปีการศึกษา
Academic Year
2566
2023

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการที่ดีของสาธารณสุขในอำเภอ
พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาศักยภาพการบริหารจัดการที่ดีของสาธารณสุขในอำเภอพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการที่ดีของสาธารณสุขในอำเภอพุทธมณฑลจังหวัด
นครปฐมที่ส่งผลต่อศักยภาพการบริหารจัดการที่ดีของสาธารณสุขในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็น
การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการในอำเภอ
พุทธมณฑล จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ที่สร้างขึ้นโดยการศึกษาเอกสาร
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้ครอบคลุมเนื้อหา
และวัตถุประสงค์ในการศึกษาตามกรอบแนวคิดของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม โดยนำตัวแปรที่วิเคราะห์ได้
ทางสถิติไปสร้างแบบสอบถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกแล้วนำมา
สังเคราะห์สร้างเป็นแนวทางการบริหารจัดการที่ดีของสาธารณสุขในอำเภอพุทธมณฑลจังหวัดนครปฐม

ผลการวิจัยพบว่า
ระดับศักยภาพการบริหารจัดการที่ดีของสาธารณสุขในอำเภอพุทธมณฑล ตัวแปรตาม โดยรวมทุก
ด้าน พบว่า อยู่ในระดับ ปานกลาง ( X =3.06 S.D.=0.73) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความ
พึงพอใจ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( X =3.11 S.D.=0.81) ด้านการไม่เลือกปฏิบัติ-เสมอภาค อยู่ในระดับ ปาน
กลาง ( X =3.10 S.D.=0.73) ด้านการบริหาร อยู่ในระดับ ปานกลาง ( X =3.03 S.D.=0.70) และด้านการให้
ความร่วมมือตามนโยบาย อยู่ในระดับ ปานกลาง ( X =3.00 S.D.=0.73) ตามลำดับ
ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวทางการบริหารจัดการที่ดีของสาธารณสุข
ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยรวมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านความปลอดภัย X4 ด้าน
สภาพแวดล้อมในการทำงาน X3 ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b)
เท่ากับ 0.425 และ 0.278 ตามลำดับ
ควรมีการพัฒนาการจัดการบริหารสาธารณสุขโดยเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ควรมีการวิเคราะห์ถึง
ปัญหาและสำรวจความต้องการของประชาชน เพื่อให้การบริการงานสาธารณสุขนั้นมีประสิทธิภาพ มีความ
ทั่วถึงและแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดรวมถึงได้รับความพึงพอใจจากประชาชน ส่วนทางด้านหน่วยงาน
สาธารณสุขเองควรมีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและปรับใช้แนวคิดการพัฒนา
ภาวะผู้นำเพื่อการวางแผนการปฏิบัติงานของหน่วยงานตั้งแต่บทบาทปฐมภูมิไปถึงทุติยภูมิ ประสานความ
ร่วมมือและปฏิบัติงานตามนโยบายและเป้าหมาย สร้างแบบอย่างที่ดี มุ่งมั่น อุทิศตน ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับอย่างเที่ยงธรรมตามความรู้ ความสามารถ ด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว รอบคอบ ไม่เลือกปฏิบัติ รับฟัง
ข้อเสนอแนะช่วยเหลือและบริการประชาชนอย่างเต็มที่
คำสำคัญ: การบริหารจัดการที่ดี, สาธารณสุข, ศักยภาพ

ABTRACT

The purposes of this research are as follows: 1) To study the good management
practices of public health in Phutthamonthon District, Nakhon Pathom Province, 2) To study
the potential of good management of public health in Phutthamonthon District, Nakhon
Pathom Province, and 3) To study good management practices of public health in
Phutthamonthon District, Nakhon Pathom Province affecting potential of good management
of public health in Phutthamonthon District, Nakhon Pathom Province. This research applied
quantitative method. The sample groups of this research were local people and people from
government and business sector in Phutthamonthon district in a total of 400 people. The
research tool used in this research is questionnaire that was created by studying related
literatures, theories and researches. The questionnaire was the instrument to collect data from
sample group which covered the context and purpose of the study according to the approach
of independent and dependent variable in order to gain insight information and then use it to
analyze to be the guideline to develop the management of public health administration in
Phutthamonthon District, Nakhon Pathom Province.

The research found that
As for the potential level of effective management of public health administration in
Phutthamonthon district, dependent variable from all aspects is moderate ( X =3.06 S.D.=0.73).
Sorting in descending order as follows: the aspect of satisfactory ( X =3.11 S.D.=0.81), the aspect
of non-discrimination and equality ( X =3.10 S.D.=0.73), the aspect of management ( X =3.03
S.D.=0.70) and the aspect of policy participation ( X =3.00 S.D.=0.73).
The importance value of the factors influencing the effective management of public health
administration in Phutthamonthon Nakhon Pathom from all aspects significantly were Security
aspect X4 and Work environment aspect X3. Both independent variables had coefficient of
the predictor in raw score (b) equals 0.425 and 0.278 respectively.
There should be development of management by focusing on the people and there
should be analysis of people’s problems and observation of people’s needs in order to
improve health care service including making health care service thoroughly reached and
come up with a solution suiting straight to the point of the problem. As for public health

departments, they should be effectively responsible for their role and duty. They should be applicative to leadership approach in order to plan their operation from primary role to secondary role. Furthermore, they should cooperate focusing on their policies and goals including creating role model, promoting determination and devotion. They should righteously conduct their duty respecting regulation by using their knowledge. They should be fast, cautious and open-minded to people’s suggestion without discrimination in order to provide people with best service.
Keywords: Effective management, Public Health, Potential

ข่าวสาร

สมัครเรียนปริญญาโท สมัครเรียนปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเกริก
สมัครเรียนปริญญาโท สมัครเรียนปริญญาเอก สาขาการจัดการองค์การยุคใหม่ M.O.M สาขาการบริหารการค้าและการเมือง อย่างยั่งยืนในโลกยุคใหม่ TPS หลักสูตรได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สปอว.) เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (Thai Qualification Framework: TQF)