คุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152

หัวข้อการค้นคว้าอิสระ
Title
คุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152
Quality of Working Life Environment of the 3th Infantry Battalion 152th Infantry Regimental
ชื่อผู้วิจัย/ผู้ศึกษา
Author
อัสมีน ยูโซะ
Asmeen Usoh
ปริญญา/คณะ/มหาวิทยาลัย
Degree/Faculty/University
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการองค์การยุคใหม่)/ศิลปศาสตร์/มหาวิทยาลัยเกริก
Master of Arts (Modern Organizational Management)/ Liberal Arts/Krirk University
อาจารย์ที่ปรึกษา
Advisor
ดร.อาภรณ์ คุระเอียด
Dr.Arphorn Kuraeiad
ปีการศึกษา
Academic Year
2566
2023

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่อง คุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ กำลังพล ร. 152 พัน. 3 ที่ปฏิบัติภารกิจการพัฒนา รักษาความมั่นคงภายใน และให้ความปลอดภัยแก่ประชาชน รวมทั้งเพื่อให้การแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test (One way ANOVA) โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD

          ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 20 – 25 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 – 6 หรือ ปวช. สถานภาพโสด และสมรส (เท่ากัน) ระดับชั้นยศสิบตรี – สิบเอก มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท มีระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ระหว่าง 1 – 3 ปี และพักอาศัยที่บ้านพักสวัสดิการ และคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล ร. 152 พัน. 3 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (  = 3.50, S.D. = 0.759) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล ร. 152 พัน. 3 และปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ระดับชั้นยศ และบ้านพักอาศัย ที่แตกต่างกัน ไม่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล ร. 152 พัน. 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล ร. 152 พัน. 3 ปัจจัยสำคัญ คือ มุ่งเน้นการพัฒนาผลตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอเป็นสำคัญ ควรส่งเสริมให้กำลังพลมีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว และด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ควรลดความขัดแย้งระหว่างกำลังพล ควรเสริมสร้างกิจกรรม หรือการละลายพฤติกรรม และควรทำให้ที่ทำงานมีบรรยากาศของความเป็นมิตร

คำสำคัญ : คุณภาพชีวิตในการทำงาน

ABSTRACT

This research study, titled “Quality of Working Life of the 3th Infantry Battalion 152th Infantry Regimental,”. The research employs a quantitative research approach with two primary objectives. First, it seeks to examine the quality of working life experienced by military personnel within the 3th Infantry Battalion 152th Infantry Regimental. Second, it intends to compare the quality of working life among military personnel within the 3th Infantry Battalion 152th Infantry Regimental, categorized by personal factors. Thirdly, propose suggestions for enhancing the quality of work life within the 3th Infantry Battalion, 152th Infantry Regiment. The study population comprises military personnel from the specified unit who are engaged in tasks related to development, internal security, and public safety in the southern border region of Thailand. A total of 181 individuals were included in the statistical analysis.

The study found that the majority of the sample group had an age range between 20 – 25 years old, with education levels ranging from the secondary school to vocational certificate (equivalent). Marital status was either single or married (in equal proportions). Their military ranks were primarily from Sub – Lieutenant to Lieutenant Colonel. The average monthly income ranged from 10,001 – 20,000 baht. The duration of service varied between 1 to 3 years, and they resided in welfare-provided accommodation. Overall, the quality of work life for the personnel was rated as high (mean = 3.50). The hypothesis testing indicates that income levels significantly impact the work-life quality of the 152nd Infantry Regiment soldiers. The study suggests developmental strategies emphasizing fair and adequate compensation, encouraging supplemental occupations to enhance household incomes, fostering social integration or collaborative work, minimizing conflicts among soldiers, promoting activities or behavior dissipation, and cultivating a friendly workplace environment.

Keyword: Quality of Working Life

ข่าวสาร

สมัครเรียนปริญญาโท สมัครเรียนปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเกริก
สมัครเรียนปริญญาโท สมัครเรียนปริญญาเอก สาขาการจัดการองค์การยุคใหม่ M.O.M สาขาการบริหารการค้าและการเมือง อย่างยั่งยืนในโลกยุคใหม่ TPS หลักสูตรได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สปอว.) เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (Thai Qualification Framework: TQF)